โครงการอ่างเก้บน้ำห้วยแม่ยอน

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ยอนตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 

h
  

 พระราชดำริ :  
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมาของโครงการ :
          - วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 นายคมสัน จิตมั่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เขตอำเภอแม่ทะได้ร้องขอความอนุเคราะห์งบประมาณก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ยอนตอนบน ผ่านที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่
            - วันที่ 18 กุมภาพันธ์  2552 นายกเทศมนตรีตำบลสิริราช ตำบลสันดอนแก้ อำเภอแม่ทะ ได้ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ยอนตอนบน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม  2254 ตามหนังสือที่ รล 0008.4/7251
            - กรมชลประทานโดยสำนักงานก่อสร้าง 2 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง จัดเข้าแผนงานก่อสร้างในปีงบประมาณ 2556
ที่ตั้งของโครงการ :
              หมู่ 1 บ้านเส้นดอนแก้ว ต.สันดอนแก้ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

วัตถุประสงค์ของโครงการ :              เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้งของราษฎรบ้านสันดอนแก้ว หมู่ที่ 1 จำนวน 175 ครัวเรือน ประชากร 611 คน และบ้านแม่วะ หมุ่ที่ 3 จำนวน 237 ครัวเรือน ประชากร 761 คน รวมทั้งสิ้น 412 ครัวเรือน ประชากร 1,372 คน 
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
           - สำนักนายกรัฐมนตรี           - สำนักงานคณะกรรมพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ              (สำนักงาน กปร.)           - กรมชลประทาน

ผู้ได้รับประโยชน์ :                ราษฎรบ้านสันดอนแก้ว หมู่ที่ 1 จำนวน 175 ครัวเรือน ประชากร 611 คน และบ้านแม่วะ หมุ่ที่ 3 จำนวน 237 ครัวเรือน ประชากร 761 คน รวมทั้งสิ้น 412 ครัวเรือน ประชากร 1,372 คน
ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :            
               1 ก่อสร้างทำนบดิน กว้าง 8.00 ม. ยาว 247.00 ม. สูง 15.00 ม. ความจุระดับกักเก็บ
254,500 ลบ.ม.
          
               2. ก่อสร้างทางระบายน้ำล้นแบบรางเท (สันทางระบายน้ำล้น กว้าง) 1 รางเท กว้าง 100 ม.
ยาว 160.00 ม. สูง 1.20 ม.
                    
               3. ก่อสร้างอาคารท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย 0.50 ม. ยาว 100.00 ม.
          
               4. ปล่อยน้ำลงลำน้ำเดิมให้ระบบเหมืองฝายต้านท้ายน้ำ จำนวน 8 แท่ง ครอบคลุมพื้นที่ 1,679 ไร่ พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 1,179 ไร่ 
           
              4.1 ฝายบวกผักแว่น(ฝายคอนกรีต) พิกัด 47
 QNV 517-877 ระวาง 4844 | พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งขวา พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 229 ไร่ ก่อสร้างโดยราษฎรบ้านสันดอนแก้ว ปี 2548 สภาพปัจจุบันใช้การได้ดี 
              4.2 ฝายต้นนอต (ฝายคอนกรีต) พิกัด 47 QNV 518-879 ระวาง 4844 พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งขวา พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 150 ไร่ ก่อสร้างโดยราษฎรบ้านสันดอนแก้ว ปี 2547 สภาพปัจจุบันมีตะกอนทับถมอยู่เดิมหน้าฝาย เมื่อถึงฤดูการเพาะปลูกต้องช่วยกันขุดลอกเอาตะกอนออกเป็นประจำทุกปี

คลิกอ่านเพิ่มเติม              4.3 ฝายแพะป่าตึง (ฝายคอนกรีต) พิกัด 47 QNV 516-883 ระวาง 4844 | พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งว้าย พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 200 ไร่ ก่อสร้างโดยราษฎรบ้านสันดอนแก้ว ปี 2548 สภาพปัจจุบันชำรุดเสียหายใช้การได้ไม่เต็มศักยภาพ มีปริมาณตะกอนตกทับถมอยู่เต็มหน้าฝาย บริเวณหูฝายทั้งสองข้างูกน้ำกัดเซาะเมื่อถึงฤดูการเพาะปลูกราษฎรต้องช่วยกันซ่อมแซมและขุดลอกเอาตะกอนออกเป็นประจำทุกปี              4.4. ฝายต้นข่อย (ฝายคอนกรีต) พิกัด 47 QNV 516-887 ระวาง 4844 | พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งซ้าย พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 150 ไร่ก่อสร้างโดยราฎรบ้านสันดอนแก้วและราษฎรบ้านแม่วะ ปี 2547 สภาพปัจจุบันมีตะกอนทับถมอยู่เต็มหน้าฝาย             4.5 ฝายหนองบง (ฝายคอนกรีต) พิกัด 47 QNV 517-889 ระวาง 4844 | พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งว้าย พื้นที่รับปรัโยชน์ประมาณ 250 ไร่ ก่อสร้างโดยราษฎรบ้านสันดอนแก้วและราษฎรบ้านแม่วะ ปี 2556 สภาพปัจจุบันใช้การได้ดี                  4.6  ฝายหนองไผ่ (ฝายคอนกรีต) พิกัด 47 QNV 517-889 ระวาง 4844 พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งซ้าย พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 250 ไร่ ก่อสร้างโดยราษฎรบ้านสันดอนแก้วและราษฎรบ้านแม่วะ ปี 2541 สภาพปัจจุบันชำรุดทรุดโซมใช้งานไม่ได้เต็มศักยภาพ มีตะกอนทับถมอยู่เต็มหน้าฝาย             4.7  ฝายน้ำย้อย (ฝายคอนกรีต) ก่อสร้าง ปี 2555 พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 250 ไร่             4.8  ฝายทุ่งวังดิน (ฝายคอนกรีต) พิกัด 47 QNV 514-898 ระวาง 4844 พร้อมเหมืองส่งน้ำฝั่งซ้าย พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 200 ไร่ ก่อสร้างโดยเทสบาลตำบลสิริราช ปี 2550 สภาพปัจุบันใช้การ
ได้ดี
  
 
ผู้ดำเนินการ (หน่วยการดำเนินการ) :            สำนักงานก่อสร้าง 2 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน

ความสำเร็จของโครงการ :  ผลลัพท์ของโครงการ (OUTCOME)     - ด้านบวก  
            - สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน 1,679 ไร่ ฤดูแล้ง 200 ไร่ ราษฎร 2 หมู่บ้าน จำนวน 412 ครัวเรือน บัญชีองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน หมายเลข 5205200202-2552-20-0008 ครอบคลุมพื้นที่ 1,679 ไร่ สมาชิก จำนวน 164 ราย           - สามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ลำห้วยแม่ยอน เป็นลำน้ำสาขาของลำห้วยแม่วะ แม่น้ำจาง และอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง           - ช่วยเหลือน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา
     - ด้านลบ
          - พื้นที่ป่าแม่จางใต้ฝั่งซ้ายรับผลกระทบจากการก่อสร้าง จำนวน 47-1-48.8 ไร่ ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศกรมป่าไม้ ฉบับที่ 27/2555 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2555          - ที่ตั้งทำนบดินและพื้นที่นำท่วมอยู่ในเขตพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 2 และชั้น 4

          - พื้นที่ราษฎรได้รับผลกระทบและสละที่ดินเพื่อการก่อสร้างจำนวน 7 ราย
ที่มาของข้อมูล :        
          - สำนักงานคณะกรรมพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
              (สำนักงาน กปร.)
 - สำนักงานก่อสร้าง 2 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน
ผู้ที่เกี่ยวข้อง :           - สำนักงานก่อสร้าง 2 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน
 แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น